เมนู

6. ทุติยสัญญาสูตร


[46] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา 7 ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา 1
มารณสัญญา 1 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเก อนภิรตสัญญา 1
อนิจจสัญญา 1 อนิจเจ ทุกขสัญญา 1 ทุกเข อนัตตสัญญา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก. จิตย่อมหวลกลับ
งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วม
เมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบ
เหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใสลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน
ไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม
หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
อสุภสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวล
กลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ

ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเรา
ถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น
ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อม
ตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
เข้าหากันไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจ
อันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความ
รักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบ
ข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่
โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่น

ไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึง
ที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น
ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหา
ในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อม
หดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหล
ไปในตัณหาในรส หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราไม่ได้เจริญแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนา
ของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
อาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจ
อันอบรมแล้วอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ

งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขา
หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและ
เบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรต-
สัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัย
อะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโล-
เกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ
จากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขา
หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็น
ที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าห้ากัน ไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอน-
ภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือ
ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรต-

สัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
ด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิดย่อมหวลกลับ งอกลับ
ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้น
ดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้น ละเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น
ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่
โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภ
สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ
ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ
ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไป
ในลาภสักการะ และความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเรา
ไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผล

แห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้
ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอัน
อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ
ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขา
หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษถึงเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
นั้นจึงเป็นต้นทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจเจทุกขสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญา
อยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นภัย) อย่างแรงกล้าในความ
เฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท
ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ
เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นนัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาต
เงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าใน
ความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท

ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏ ในเมื่อเพชฌฆาต
เงื้อดาบขึ้นฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา
อันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นสละเบื้องปลายของเราไม่มี
ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็น
ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย
ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา
ย่อมปรากฏ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อ
เพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
จึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญา
อยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฏฐิว่าเราตัณหาว่าของเรา และมานะ

ทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าว
ล่วงกิเลส 3 ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่
โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฏฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะ
ทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วง
กิเลส 3 ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนา
ของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
ทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจ
อันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจาก
ทิฏฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส 3 ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยข้อนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้แล อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
จบ ทุติยสัญญาสูตรที่ 6

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 6


สัญญาสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เมถุนธมฺมสมาปตฺติยา พรั่งพร้อมด้วยเมถุนธรรม.
บทว่า นหารุทฺทุลํ ได้แก่ เส้นเอ็น หรือรอยเอ็น บทว่า อนุสนฺทติ
ในกาลเป็นที่เจริญสัญญาก่อนกับกาลเป็นที่เจริญสัญญาอัน 2
ของไม่แปลกัน.
บทว่า โลกจิตฺเตสุ ความว่า อันวิจิตรของโลก กล่าวคือโลก
สันนิวาสอันประกอบด้วยไตรธาตุ
บทว่า อาลสฺเส ได้แก่ในความเกียจคร้าน บทว่า วิสฏฺฐิเย
ได้แก่ความท้อถอย. บทว่า อนนุโยเค ได้แก่ไม่ประกอบความเพียร.
บทว่า อหํการมมํการมานาปคตํ ได้แก่ ปราศจากทิฏฐิว่าเป็นเรา
จากตัณหาว่าของเรา จากมานะ 9 อย่าง. บทว่า วิธาสมติกฺกนฺตํ
ความว่า ก้าวล่วงกิเลส 3 อย่าง. บทว่า สนฺตํ ได้แก่ สงบจาก
กิเลสอันเป็นข้าศึกแก่การเจริญสัญญานั้น. บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่
หลุดพ้นด้วยดี ด้วยวิมุติ 5.
จบ อรรถกถาทุติยสัญญาสูตร 6